ยังฝุ่นตลบสำหรับการจับขั้วตั้งรัฐบาล หลังคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.)ประกาศผลคะแนนเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการสำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)แบบแบ่งเขต 350 เขตทั่วประเทศ
ประเด็นถกเถึยงกันมากขึ้นว่าใครมีสิทธิจัดตั้งรัฐบาล ในขณะที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าพรรคไหนได้คะแนนเสียงจริง ๆ เท่าไรกันแน่ เนื่องจากต้องไปคำนวณส.ส.ประเภทบัญชีรายชื่อจากคะแนนทั้งหมด และหลังประกาศผลการเลือกตั้ส.ส.เขต 100%
ยิ่งกกต.ประกาศผลล่าช้า ดูเหมือนก็ยิ่งสร้างความสับสนและวิพาก์วิจารณ์กันในหลายประเด็น แต่ประเด็นที่ถกเถียงกันมากในขณะนี้ พรรคไหนจะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ระหว่างพรรคที่ได้ส.ส.มากที่สุด(ในขณะนี้) คือ พรรคเพื่อไทย กับ พรรคพลังประชารัฐ พรรคอันดับ 2 แต่มีคะแนนรวมสูงสุด
ทั้งนี้ หลักการจัดตั้งรัฐบาล ไม่เคยมีกฎหมายกำหนดไว้ในกฎหมายการเมืองไทยทุกฉบับ ที่ผ่านมา เพียงแต่ยึดหลัก “ความเหมาะสม”
ข่าวน่าสนใจ:
- พร้อมรับสมัครเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภา อบจ.พังงา เชิญชวนคนดีมีความสามารถมาสมัคร 23-27 ธันวาคมนี้
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
- น้องขวัญ นายก อบจ.นครพนม ลาออก ก่อนครบวาระ 3 วัน จ่อลงชิงป้องกันแชมป์
- ชิง ส.อบจ.เพชรบูรณ์ ส่อเดือด! นักการเมืองรุ่นใหม่ทยอยเปิดตัว ท้าชนแชมป์เก่า
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี บอกว่า “ความจริง ก็ไม่ได้ยุ่งยากมากขนาดนั้น ถ้าพรรคไหนสามารถรวบรวมเสียงได้มากกว่า ก็สามารถลุกขึ้นเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้ก่อน”
นายวิษณุ บอกอีกว่าขั้นตอนสุดดท้าย คือ การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีในสภาผู้แทนราษฎร
“ตอนนี้ต่างคนต่างพูดกันไป แต่ก็ขึ้นอยู่กับฝีมือของแต่ละพรรคการเมืองจะรวบรวมคะแนนได้”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: