ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ประจำปี 2018 ของ QS World University Rankings จุฬาฯติดอันดับ 1 ของประเทศ ติดอันดับ 245 ของโลก
การจัดอันดับสำหรับระดับภูมิภาค (QS World University Rankings by Region 2018) ได้จัดให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทยเป็นเวลา 2 ปีติดต่อกัน (ปี ค.ศ. 2017 – 2018) และอยู่ในอันดับที่ 50 ของเอเชีย
สำหรับมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นๆที่ได้รับการจัดอันดับในระดับโลก ดังนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 334 ของโลก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันดับที่ 551-600 ของโลก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันดับที่ 601 – 605 ของโลก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันดับที่ 751-800 ของโลก และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อยู่ในอันดับที่ 801-1,000 ของโลก ตามลำดับ
มหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นๆของไทยที่ได้รับการจัดอันดับ ในเอเซียมีดังนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 58 ของเอเชีย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันดับที่ 97 ของเอเชีย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันดับที่ 112 ของเอเชีย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันดับที่ 149 ของเอเชีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อันดับที่ 171 ของเอเชีย มหาวิทยาลัยขอนแก่น อันดับที่ 178 ของเอเชีย และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อันดับที่ 188 ของเอเชีย ตามลำดับ
ข่าวน่าสนใจ:
- ขอนแก่นจัดงานแถลงข่าว เทศกาลสุดออนซอนแห่งปี! “PlaraMorlum” Isan to the World ระหว่างวันที่ 26-29 ธันวาคม 2567 ณ ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์
- ชวนคนตรังไปงาน WORLD TEA & COFFEE EXPO 2024
- กองบิน 5 แถลงข่าวการจัดงาน “สดุดีวีรชน 8 ธันวาคม 2484” รำลึกถึงความกล้าหาญ และความสามัคคีของวีรชนผู้กล้า ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา
เกณฑ์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS ประเมินจากการสำรวจความคิดเห็น (Global Survey) 50% ความมีชื่อเสียงทางวิชาการ (Academic reputation) 40% จำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์ (Student per faculty) 20% การอ้างอิงผลงานของคณาจารย์ (Citations per faculty) 20% และชื่อเสียงของผู้จ้างงาน (Employer reputation) 10%
ในระดับโลก มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับต้นๆ ที่ประเมินโดย QS ได้แก่ อันดับ 1 สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) อันดับ 2 มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และอันดับ 3 มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยจากสหรัฐอเมริกาทั้งหมด
สำหรับมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 1 และอันดับ 2 ของเอเชีย เป็นสองมหาวิทยาลัยหลักในประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (NTU) และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ซึ่งติดอันดับ 11 และ 15 ของโลก ตามลำดับ
ส่วนมหาวิทยาลัยอันดับที่ 3 ของเอเชีย ได้แก่ Tsinghua University จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งติดอันดับที่ 25 ของโลก
ทั้งนี้ ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยแยกตามสาขาวิชา จากการประเมินของ QS World University Rankings by Subject 2018 ปรากฏว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดอันดับ 150 ของโลก จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (Engineering & Technology) และสังคมศาสตร์และการบริหารจัดการ (Social Sciences & Management)
นอกจากนี้จุฬาฯยังติดอันดับ 200 ของโลก ในสาขาวิชาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Arts & Humanities) ติดอันดับ 250 ของโลก ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวการแพทย์ (Life Sciences & Medicine) และติดอันดับ 300 ของโลก ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences)
ในภาพรวมของสาขาวิชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับดีขึ้น 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการบริหารจัดการ ติดอันดับที่ 139 ซึ่งดีขึ้นกว่าปีที่แล้วที่ได้อันดับ 159 สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี อันดับที่ 140 ซึ่งปีที่ผ่านมาได้อันดับที่ 147 และสาขาวิชาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อันดับที่ 197 ขยับดีขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ได้อันดับที่ 210
ในขณะที่สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวการแพทย์ ตกจากอันดับที่ 203 มาอยู่อันดับที่ 215 และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ตกจากอันดับที่ 256 มาอยู่อันดับที่ 266
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: