สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) รายงานภาวะสังคมไทยปี 2560 ผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น การผิดนัดชําระหนี้ลดลง การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังลดลง ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ลดลง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น การลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาล ประชาชนมีหลักประกันทางสังคมเพิ่มขึ้น
แต่ประเด็นที่ต้องติดตาม คือ การจ้างงานและรายได้ลดลง การว่างงานเพิ่มขึ้น การเร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย การเจ็บป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยรุ่นในระดับสูง การเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น และการเตรียมศักยภําพแรงงานเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ
การจ้างงานลดลง อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ค่าจ้างแรงงานภาคเกษตรและสาขาบริการ ผลิตภาพแรงงานขยายตัวได้ดี
ตลอดปี 2560 การจ้างงานลดลงจากปี 2559 ร้อยละ 0.6 เป็นการลดลงของการจ้างงานนอกภาคเกษตรร้อยละ 1.0 เนื่องจากภาพรวมการส่งออกที่ขยายตัวช้าในช่วงครึ่งแรกของปี และแม้ว่าในช่วงครึ่งหลังของปีกํารส่งออกจะปรับตัวดีขึ้น แต่ยังไม่ส่งผลต่อการขยายการจ้างงานในสาขาการผลิตมากนัก
ประกอบกับ การปรับเปลี่ยนใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เช่น การขนส่ง/เก็บสินค้า และสาขาการโรงแรม ภัตตาคาร เป็นผลจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีในช่วงครึ่งหลังของปี และรูปแบบการค้าในลักษณะออนไลน์ที่ขยายตัวเร็วส่งผลต่อเนื่องให้การขนส่งสินค้ามีมากขึ้น
สําหรับ ภาคเกษตรตลอดทั้งปีขยายตัวร้อยละ 0.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.3 ในปี 2559 อัตราการว่างงานเท่ากับ ร้อยละ 1.2 ค่าจ้างแรงงานที่ไม่รวมผลประโยชน์ตอบแทนอื่นปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 ส่วนผลิตภาพ แรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 โดยปรับตัวดีขึ้นทั้งภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรที่ร้อยละ 5.9 และ 5.6 ตามลําดับ
หนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว สะท้อนจํากยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อกํารอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการช่าระหนี้ดีขึ้น พิจารณาจากสัดส่วนหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค ท่ีไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมที่ลดลง และการผิดนัดชําระหนี้เกิน3เดือนขึ้นไปของสินเช่ือส่วนบุคคล ภายใต้การกํากับและสินเช่ือบัตรเครดิตที่ลดลง
การตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยรุ่นลดลงแต่ยังคงอยู่ในระดับสูงและยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูล สถิติของสํานักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย พบว่า อัตราการคลอดในกลุ่มอายุ 15-19 ปี ต่อหญิง วัยเดียวกัน 1,000 คน ลดลงอย่างต่อเนื่องจากอัตรา 53.4 ในปี 2555 เป็นอัตรา 42.5 ในปี 2559
ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ลดลง แต่ยังต้องเฝ้าระวังในกลุ่มเด็กและ เยาวชน ในไตรมาสสี่ปี 2560 ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่ ผ่านมาร้อยละ 1.3 ขณะที่ค่าใช้จ่ายในกํารบริโภคบุหรี่ลดลงร้อยละ 6.0
คดีอาญาลดลง ทั้งปี 2560 คดีอาญาโดยรวมเพิ่มขึ้นจํากปี 2559 ร้อยละ 6.3 จากการที่คดียําเสพติดเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 แต่คดีชีวิต ร่างกายและเพศ คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ลดลงร้อยละ 14.2 และ 10.5 ตํามลําดับ
การเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลลดลง แต่ในภาพรวมยังคงเพิ่มขึ้น ภาพรวมปี 2560 การเกิดอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.3 และ 2.5 ตํามลําดับ ขณะที่ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 การเกิดอุบัติเหตุ ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตลดลง ร้อยละ 2.0 3.1 และ 11.5 ตํามลําดับ
ดังนั้น ควรดําเนินมาตรการลดการเกิดอุบัติเหตุอย่างเข้มงวดและต่อเนื่องตลอดท้ังปี เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะกํารตรวจจับเมาแล้วขับ และขับรถเร็วเกินกําหนด เพื่อลดการสูญเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ประชาชนมีการออมเพื่อเกษียณอายุเพิ่มขึ้น โดยในปี 2560 มีผู้ประกันตนภายใต้กองทุน ประกันสังคม 14.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 และกองทุนกํารออมแห่งชําติ (กอช.) 5.3 แสนคน เพิ่มขึ้น ร้อยละ2.4 แต่ยังมีแรงงานนอกระบบที่ไม่มีหลักประกันกว่า20 ล้านคนซึ่งต้องเร่งขยายความครอบคลุม โดยกอช.ได้ร่วมมือกับ10 หน่วยงานภาครัฐคลังจังหวัดและสถาบันการเงินชุมชนทั่วประเทศและออกกฎหมายกองทุนบําเหน็จบํานําญแห่งชาติเพื่อเพิ่มเงินออมของประชาชนให้มีรายได้พอเพียงหลังเกษียณอายุ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: