นายสุรชัย บุญวรรโณ หัวหน้ากองควบคุมและติดตามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนล่าง กล่าวว่า ทางกยท.ภาคใต้ตอนล่างจะดูแลเกี่ยวกับเรื่องยางพาราทั้งหมดในเขตภาคใต้ตอนล่าง 5 จังหวัด ได้แก่ สตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา ภายใต้โครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ ที่เป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนนำยางพาราไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น ถนนลาดยางแปรรูปผลิตภัณฑ์ และสนามกีฬา อีกทั้งส่งเสริมให้มีการใช้ยางในประเทศมากขึ้น
ขณะนี้ ที่ดำเนินการไปแล้วคือ ใช้ทำถนนลาดยาง จังหวัดตรัง และสงขลา โดยมีการเปิดรับซื้อนน้ำยางสดในราคานำตลาดจากเกษตรกรชาวสวนยาง ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2561 นำร่องใน 5 จังหวัดภาคใต้ได้แก่ นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล สงขลาและยะลา ราคาอยู่ที่ 47 บาทต่อกิโลกรัม
จากนั้น ส่งไปยังบริษัทผลิตเป็นน้ำยางข้น เพื่อส่งไปยังหน่วยงานภาครัฐ และมีเป้าหมายซื้อยาง 2 แสนตัน ตั้งแต่วันแรกที่รับซื้อราคาน้ำยางสด ราคา 43 บาทต่อกิโลกรัม วันต่อมาราคาเพิ่มขึ้นถึง 45 บาท และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงจะรับซื้ออย่างต่อเนื่อง
ข่าวน่าสนใจ:
- รองผู้ว่าฯปราจีนบุรี ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาช้างป่ารุกพื้นที่ชุมชน
- งานประเพณีลอยกระทงหาดพยูน สร้างบ่อน้ำริมชายหาดให้ ปชช. ได้ร่วมลอยกระทง แทนลอยในทะเล ป้องกันกระทบสัตว์น้ำ
- เปิดฉาก! สีฐานเฟสติวัล 2024 ลอยกระทงปีนี้ที่ มข.แบบ “วิถีแห่งอีสาน สีฐานมูเตลู”
- กอ.รมน.ภาค 4 สน. ชี้แจงกรณีคดีหาดวาสุกรี ยืนยันพร้อมส่งเสริมการแต่งกายชุดมลายู
“การรับซื้อครั้งนี้ ถือเป็นการดูดซับยางไม่ให้ออกสู่ตลาด และใช้ราคานำตลาด ซึ่งจะส่งผลให้ราคาดีขึ้น โดยรับซื้อผ่านกลุ่มเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกยท.” นายสุรชัย กล่าว
ทั้งนี้ จังหวัดสงขลามีจุดรับซื้อ 28 จุด รับซื้อจากเกษตรกรโดยตรงทั้งน้ำยางสด ยางแผ่นดิบ และยางก้นถ้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: