X

นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นำคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นำคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

เมื่อวันที่  13 ม.ค. 63  เวลา 9.00 น. นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นำคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง ณ อำเภอโชคชัยและอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยมีนายธงชัย ลืออดุลย์ เลขานุการรัฐมนตรี , นายจิรายุ นันท์ธราธร ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเขต 13, นายอภิชา เลิศพชรกมล ส.ส. จังหวัดนครราชสีมา เขต 9, นายวัชรพล โตมรศักดิ์ ส.ส.จังหวัดนครราชสีมา เขต 2 และ นายประเสริฐ บุญชัยสุข อดีตรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมคณะติดตาม นางปียะฉัตร อินสว่าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าวต้อนรับพร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการท่านนายอำเภอโชคซัย ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่อำเภอโชคชัย


รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ จ.นครราชสีมา อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ รัฐบาลได้เตรียมให้การช่วยเหลือประชาชนหลายด้าน อาทิ จัดหารถแรงดันน้ำ ขุดบ่อบาดาลเพิ่ม โดยรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณกลาง จำนวน 3,000 ล้านบาท และมอบหมายให้ สทนช. ดำเนินการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนต่อไป ในส่วนของงบประมาณปกติของรัฐบาล 3.2 ล้านล้านที่เพิ่งผ่านสภา คาดว่าสามารถใช้ได้เดือน มี.ค. และอาจจะมีสนับสนุนช่วยเหลือ แก้ปัญหาสถานการณ์ภัยแล้ง
นางปียะฉัตร อินสว่าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าวสรุปสถานการณ์ภัยแล้งปื 2563 นื่องจากในปี 2563 ที่ผ่นมา จังหวัดนคราชสีมา มีฝนตกในพื้นที่ รวม ๖๕๐ มิลลิมตร ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 421มิลลิมตร (ค่าเฉลี่ย 30ปี 1,071มิลลืมตร)จึงส่งผลให้เกิดสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 4แห่ง ได้แก่อ่างเก็บน้ำลำตะคลอง ปริมาณน้ำ คงเหลือ 48 % อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง ปริมาณน้ำ คงเหลือ 14% อ่างเก็บน้ำมูลบน ปริมาณน้ำ คงเหลือ34 %และอ่างเก็บน้ำลำแชะ ปริมาณน้ำ คงเหลือ 30%ทั้งนี้ อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง มีปริมาณใช้งานได้ 21.0ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งได้วางแผน การบริหารจัดการน้ำร่วมกับกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ แบ่งการใช้น้ำ 4กิจกรรม ได้แก่ อุปโภค บริโภคอุตสาหกรรม รักษาระบบนิเวศ และการรั่วซึม โดยวางแผนการส่งน้ำช่วงฤดูแล้งเดือนมกราคม- เมษายน 2563 ใช้น้ำ 9 ล้นลูกบาศก็มตร และแผนการส่งน้ำช่วงก่อนฤดูฝน เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2563ใช้น้ำ4 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอในพื้นที่
สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ อ.โชคชัย จากพื้นที่ทั้งหมด 10 ตำบล ปัจจุบันเกิดปัญหาภัยแล้งใน 2 ตำบล คือ ต.พลับพลา และ ต.ท่าอ่าง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากสระน้ำที่ใช้ทำน้ำประปาหมู่บ้านเกิดความแห้งแล้ง และพบว่าบางพื้นที่การประปาส่วนภูมิภาคเข้าไม่ถึง ประชาชนใช้น้ำจากบ่อบาดาลซึ่งเป็นบ่อขนาดเล็ก ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีน้ำอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอต่อการใช้
และ อ.ปักธงชัย ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำไม่พอใช้อุปโภคบริโภค ซึ่งได้รายงานต่อจังหวัด เพื่อประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2562 จำนวน 16 ตำบล 180 หมู่บ้าน ในขณะนี้มีหมู่บ้านที่ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด จำนวน 10 หมู่บ้าน ในพื้นที่ ต.ธงชัยเหนือ ต.ตะขบ และ ต.โคกไทย


ทั้งนี้ จากสถานการณ์ภัยแล้งของทั้ง 2 อำเภอ มีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า คือ การเจาะบ่อบาดาล การสูบน้ำและแจกจ่ายน้ำ การรณรงค์ชาวบ้านไม่ทำข้าวนาปรัง และการใช้น้ำอย่างประหยัด ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาว มีการปรับปรุงวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำใต้ดิน การจัดหาถังน้ำกลาง และรณรงค์การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน