สภาวัฒนธรรมถอดบทเรียน 2 ชุมชนสู่งานวัฒนธรรมระดับประเทศ ภูมิปัญาท้องถิ่น
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย ผศ.รณรงค์ จันใด อาจารย์สาขาวิชานโยบายสังคมการพัฒนาสังคมและการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วัดพรหมราช ต.ตูม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
ข่าวน่าสนใจ:
- เอเย่นต์ยาบ้าร้องไห้โฮ หลังชุด ฉก.ปกครองบุกจับ ตรวจพบของกลางกลับโทษภรรยา ไม่ยอมซุกซ่อนยาเสพติดให้ดี จ.สระแก้ว
- ปิดตำนานนักเขียน "ตรี อภิรุม" ศิลปินแห่งชาติฯ เจ้าของผลงาน "นาคี"
- สุด! ใช้เกาะพิพาทไทย เมียนมาขนยาบ้าหวิดแสน และไอซ์ ไม่รอดมือทหารราชมนู
- ส่งตัว 3 ผู้ต้องหาฝากขัง คดีหนุ่ม 20 ปี ถูกยิงดับบริเวณคูกันช้าง อ้างปืนลั่น จ.สระแก้ว
นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ในปีนี้ทางจังหวัดนครราชสีมา ได้รับรางวัลชุมชนต้นแบบ เพื่อนำการขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม ทั้งด้านศิลปะการแสดง โดยเฉพาะ รำโทนโคราช ที่เป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ รวมถึงอาหารพื้นเมืองพื้นถิ่น อาทิ ข้าวโป่ง พล่าหมี่โคราช มีที่นี่ที่เดียวต้องมาลองชิม นอกจากนี้ในชุมชนของที่นี่มีความสำคัญ โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์ของวัดพรหมราชเก็บวัตถุโบราณอายุเป็นพันปี และชุมชนที่นี่ก็มีความสามัคคีอย่างมาก ในส่วนของการต่อยอดในอนาคต ทางสภาฯเราก็ได้จัดให้มีการประชุมสัญจรแลกเปลี่ยน จัดงานมหกรรมชุมชนของดี และนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เราจัดไปแล้ว 2 ครั้ง ครั้งที่ 3 เราจะไปจัดกันที่จังหวัดยโสธรในปลายเดือนกันยายนนี้ และจากนี้เราก็จะช่วยกันทุกภาคส่วนที่จะต้องผลักดันกัน โดยจะนำนิสิตนักศึกษาจากทุกสภาบันในโคราช โดยจัดตั้งเป็นสภา เยาวชน เพื่อรักษาอนุรักษ์วัฒนธรรมในท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป
ทางด้าน ผศ.รณรงค์ จันใด อาจารย์สาขาวิชานโยบายสังคมการพัฒนาสังคมและการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ทางวัดพรหมราชมีศิลปะวัฒนธรรมภายในชุมชนที่น่าสนใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์การสืบทอดต่อไป จากการศึกษาภายในชุมชนมีความเป็นโคราชแท้ มีคุณตาคุณยายที่ยังสืบสานวัฒนธรรมอยู่ โดยเฉพาะหมี่โคราช อาหารท้องถิ่นที่ยังคงมีการสืบทอด และที่สำคัญจริงๆคืออยากให้เด็กและเยาวชนมีบทบาทและส่วนร่วมในเรื่องนี้ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ร่วมกับขับเคลื่อนอนุรักษ์โดยสภาเด็กและเยาวชนมาร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อเกิดความยั่งยืน นอกจากนี้ ทางทีมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็จะจัดทำวีดีโอและทำ VTR ในการขับเคลื่อนการจัดการภายในชุมชนตัวอย่าง ไปเผยแพร่ให้กับทุกจังหวัดได้มาดูงานเป็นตัวอย่างเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป
ขณะที่ พระครูโกศล ธรรมวิบูลย์ เจ้าอาวาสวัดพรหมราชและเจ้าคณะตำบลตูม กล่าวว่า วัดแห่งนี้จากการสันนิษฐานตามประวัติศาสตร์นั้นสร้างเมื่อครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนชื่อวัดพรหมราชนั้น เป็นชื่อของคนชื่อพรหมส่วนราชมาจาก หลังจากนั้นท่านก็ได้บรรพชาเป็นพระภิกษุและได้เทศน์ชื่อ ‘กัณฑ์มหาราช’ ในตอนหนึ่งของเวสสันดรชาดก หลังจากนั้นท่านก็สึกจากพระมาเป็นฆราวาส ผู้คนจึงได้นำชื่อของท่านมาเป็นชื่อวัด นอกจากนั้นในวัดยังมีพระพุทธรูปไม่ปรากฏชื่อ ปางลีลา อายุหลายร้อยปี ซึ่งเราก็ได้ไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดพรหมราช ประชาชนที่เข้าวัดมาทำบุญก็สามารถมาไหว้สักการะขอพระได้ นอกจากนี้ เป็นประจำทุกปีวัดเราจะจัดงานนมัสการพระพุทธบาทจำลองจัดมากว่า 96 ปีแล้ว จัดสมโภชยิ่งใหญ่ทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถวายเป็นพุทธบูชา รักษาและสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามในท้องถิ่น สอดคล้องนโยบายชุมชนคุณธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งปีนี้ก็ได้รับรางวัลวัดต้นแบบชุมชนคุณธรรม ซึ่งทางวัดตระหนักว่าวัดคือศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน มีความสามัคคีในชุมชน
ทั้งนี้ ช่วงบ่าย นางฝน คงศักดิ์ตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลด่านเกวียน ได้ให้การต้อนรับ นายไชยนันท์ แสงทอง วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาและคณะ สู่ศูนย์การเรียนรู้เครื่องปั่นดินเผา เทศบาลตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่สร้างชื่อเสียงในระดับประเทศ และเป็นหมู่บ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผามายาวนานหลายชั่วอายุคน เอกลักษณ์ที่สำคัญคือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากที่นี่ มีความแข็งแกร่ง ผิวจะมีความวาว มัน มีสีน้ำตาลแดงงดงาม และดินที่ใช้ปั้นเป็นดินที่มาจากแหล่งคุณภาพที่สุดของจังหวัดนครราชสีมาได้มาจากริมแม่น้ำมูล ซึ่งปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นอาณาจักรเครื่องปั้นดินเผาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: