เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 ที่วัดลองตอง ต. บ้านโพธิ์ อ. เมือง จ. นครราชสีมา ได้จัดให้มี ประเพณีกวนข้าวทิพย์
ที่วัดลองตอง ต. บ้านโพธิ์ อ. เมือง จ. นครราชสีมา ได้จัดให้มีประเพณีกวนข้าวทิพย์ ประจำปี 2565 โดยพระมหาเสกสรร กิตฺติวณฺโณ เจ้าอาวาส พร้อมด้วย พระอติโรจน์ อริโย ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ได้นำประชาชน ในพื้นที่ร่วมกันกวนข้าวทิพย์ เนื่องในวันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6
ข่าวน่าสนใจ:
- มท.1 เยือนจังหวัดนครพนม เปิดงานมหกรรมเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม ประจำปี 2567 ครั้งที่ 21 ผลักดัน Soft Power อำเภอศรีสงคราม
- ศึกษาธิการระยอง จับมือเทคนิคระยอง และศูนย์การค้าเซ็นทรัลระยอง จัดกิจกรรมโครงการเรียนดี มีความสุขสู่อนาคตที่สดใส
- ตำรวจนครพนมทลายขบวนการค้ายาเสพติด ยึดยาบ้า 2 ล้านเม็ด ไอซ์ 46 กก. ผู้ต้องหา 4 ราย รับจ้างข้ามชาติ
- คึกคักกว่าทุกปีสุดยอดงานสืบสานประเพณีตีคลีไฟหนึ่งเดียวในโลก!
ประเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลก่อนที่สัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ โดยนางสุชาดา ธิดาของเศรษฐีหมู่บ้านเสนานิคม ได้นำอาหารซึ่งกวนด้วยข้าวมธุปายาส ไปบวงสรวงเทพยดาที่ใต้ต้นนิโครธ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ได้พบพระพุทธองค์ ประทับอยู่ใต้ต้นนิโครธเข้าใจว่าเป็นเทพยดา จึงได้ข้าวมธุปายาสไปถวาย เมื่อพระพุทธองค์ทรงเสวยเสร็จแล้ว ได้ทรงนำถาดทองที่ใส่ข้าวมธุปายาสนั้นไปลอยน้ำ และทรงอธิฐานว่า ถ้าหากพระองค์จะได้ตรัสรู้ก็ขอให้ถาดทองนั้นลอยทวนน้ำขึ้นไป เมื่อพระองค์ทรงวางถาดลงในน้ำ ก็ปรากฏว่า ถาดทองลอยทวนน้ำขึ้นเหนือน้ำดังคำอธิฐาน ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าภัตตาหารมื้อนั้นได้มีส่วนทำให้พระองค์ได้สำเร็จและตรัสรู้อริยสัจ 4 ได้
ในจังหวัดลพบุรีมีประเพณีกวนข้าวทิพย์หลายแห่ง เช่น วัดนิคมสามัคคีชัย ตำบลนิคม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี และ ในจังหวัดสิงห์บุรี จะจัดขึ้นที่หมู่บ้านวัดกุฎีทอง บ้านโภคาภิวิฒน์ วัดอุตมะพิชัย อ.พรหมบุรี ประเพณีการกวนข้าวมธุปายาส ที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันว่า “ข้าวทิพย์” มานานกว่า 30 ปีแล้ว โดยจะทำเป็นประจำทุกๆ ปีในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 และจะนำ ไปถวายพระในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
พิธีกวนข้าวทิพย์ เริ่มต้นด้วยพิธีพราหมณ์ ตั้งบายศรีบวงสรวงเทพยดาเครื่องประกอบในการตั้งบายศรี มีไตรจีวร 1 ชุด และถาดใส่อาหารมีข้าว ไข่ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว และผลไม้ พราหมณ์สวดชุมนุมเทวดา แล้วเริ่มพิธีกวนข้าวทิพย์ โดยการนำเอาข้าวที่ยังเป็นน้ำนม (ข้าวที่เพิ่งออกรวงใหม่ ที่เมล็ดยังเป็นแป้ง นำมาเอาเปลือกออก) สิ่งของเครื่องปรุงข้าวทิพย์ คือมงคล 9 สิ่ง ได้แก่ นม เนย ถั่ว งา น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง และผลไม้ต่างๆ ใส่ร่วมกันลงไป แล้วกวนให้ข้าวสุกจนเหนียว การกวนข้าวทิพย์นี้จะต้องใช้สาวพรหมจารี นุ่งขาวห่มขาวอย่างน้อย 4 คน เป็นผู้กวน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ทายก ทายิกา จะช่วยกันปั้นข้าวทิพย์เป็นก้อนๆ ถวายแด่พระภิกษุภายในวัด และจัดแบ่งไปถวายพระภิกษุตามวัดต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ที่เหลือแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ไปร่วมทำบุญในวันนั้น เพื่อเป็นการให้ทาน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: