สำนักประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์ จัดงานสัมมนาสื่อมวลชนและเครือข่าย หนุนเสริมการเท่องเที่ยว “เที่ยวชิมทุเรียนน้ำแร่ และชุมชน@โนนสุวรรณ” ให้เป็นที่รู้จักและขับเคลื่อนสู่ทุเรียน GI
วันนี้ (14 ก.ค. 66) ที่โรงเเรม เดอศิตา ปริ้นเซส อ. เมือง จังหวัดบุรีรัมย์ นายชัยยงค์ เมธาสุรวิชย์ ปลัดจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดงานสัมมนาสื่อมวลชนและเครือข่ายการประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการประชาสัมพันธ์ยุทธศาสตร์ พัฒนาจังหวัด และนโยบายจังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปี 2566 “เที่ยวชิมทุเรียนน้ำแร่ และชุมชน@โนนสุวรรณ”
ข่าวน่าสนใจ:
- เด็กไทยเจ๋ง! วิทยาลัยเทคนิคคูเมือง บุรีรัมย์ คว้าแชมป์หุ่นยนต์ยุวชนโลก คว้า 2 ทอง-โล่ชนะเลิศ
- บุรีรัมย์ โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคารจัดโครงการ “ปลูกฝันวรรณศิลป์” ปีที่ 6
- เปิดสะพานข้ามแยกสระขวัญชั่วคราวช่วงเทศกาลปีใหม่ จ.สระแก้ว ส่วนเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าอ่างฤาไนเปิดใช้เส้นทางช่วงกลางคืน
- บุรีรัมย์ ชวนเที่ยว งานช้างเคาท์ดาวน์ 2025 และงานกาชาดบุรีรัมย์เริ่มแล้ว รางวัล กิจกรรมเพียบ
โดยมี นายดำรง ปลั่งกลาง เกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ นางเฑียร ที่รัก ประธานสมาพันธ์ทุเรียนน้ำแร่บุรีรัมย์ , ฉัตรชัยพัฒน์ สาระรัมย์ ผู้แทนเกษตรผู้ปลูกทุเรียนน้ำแร่บุรีรัมย์, นางเสาวคนธ์ พุ่มพวง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบ้านทรัพย์สมบูรณ์, ร่วมเวทีเสวนา มี นายพรเกียรติ พัวนิรันดร์กูล ประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์ นางจิราพร นิยมตรง ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดบุรีรัมย์ , สื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ เข้าร่วมรับฟังการเสวนา พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ แนวทางในการพัฒนาทุเรียนน้ำแร่บุรีรัมย์ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
สำนักประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์ จัดขึ้นเพื่อสร้างเครือข่าย ส่งเสริมและเผยแพร่ผลผลิตทุเรียนคุณภาพ และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่อำเภอโนนสุวรรณให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว การให้ความรู้ด้านการปลูกทุเรียน การดูแลบำรุงรักษา และแผนการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์
ด้านนายดำรง ปลั่งกลาง เกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผยว่า สำหรับจังหวัดบุรีรัมย์นอกจากจะมีข้าวหอมมะลิ แล้วยังมีทุเรียนที่เริ่มเป็นที่นิยมปลูกใน 18 อำเภอ รวมกว่า 3 พันไร่ โดยเฉพาะ อ.โนนสุวรรณ ที่มีเกษตรกรปลูกกว่า 1.2 พันไร่ และเป็นพื้นที่ที่ทีความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับการปลูกพืชผลทางการเกษตร เนื่องจากมีชุดดินและน้ำแร่ ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ โดยล่าสุดช่วงฤดูกาลปีนี้คาดการณ์ว่า เกษตรกรจะขายผลผลิตได้ 700-800 ตัน เป็นเงินมูลค่ามากกว่า 112 ล้านบาท แต่ถึงแม้ว่าการปลูกทุเรียนในจังหวัดบุรีรัมย์ จะไม่มีปัญหาด้านการตลาด แต่ไม่สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ หลังจากนี้ทุกภาคส่วน ทั้ง เกษตรจังหวัด (ส่งเสริมองค์ความรู้, พาณิชย์จังหวัด และสหกรณ์จังหวัด (วางแผนด้านการตลาด การพัฒนาบรรจุภัณฑ์), กรมวิชาการเกษตร(ควบคุมคุณภาพ), มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (นำผลเข้าห้องเเล็บ วิเคราะห์ตัวอย่าง หาเอกลักษณ์) ส่วนกรณีการขับเคลื่อนทุเรียนสู่ GI ขณะนี้เข้าสู่ กระบวนการตรวจสอบทางเคมี ก่อนบันทึกและเข้าสู่การพิจารณาเป็นสินค้า GI ในอนาคตจะมีการส่งเสริมทุเรียนน้ำแร่บุรีรัมย์ สู่ทุเรียนโลก ส่วนข้อกังวลเรื่องฝนทิ้งช่วงที่จะส่งผลต่อการออกผลของทุเรียนนั้นมองว่า ไม่มีปัญหา เพราะบุรีรัมย์มีน้ำแร่ใต้ดินที่สามารถนำมาใช้ได้ตลอดทั้งปี
ด้านนางเฑียร ที่รัก ประธานสมาพันธ์ทุเรียนน้ำแร่บุรีรัมย์ เปิดเผยว่า ก่อนหน้าที่จะปลูกทุเรียน ได้มีการปลูกไผ่โดยไม่ได้ดูดินว่าเหมาะสมต่อการปลูกหรือไม่ ภายหลังจึงปลูกมันสำปะหลัง และเปลี่ยนมาเป็นการปลูกทุเรียนเพราะมองว่า ให้ผลดีกว่า ใช้เวลาปลูก 4 ปี ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้จากการศึกษาผ่าน youtube และสมาพันธ์ผู้ปลูกทุเรียนไทย ให้แก่กลุ่มเกษตรกร จากนั้นเกษตรจังหวัด สหกรณ์ และ สปก.เริ่มเข้ามาให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ การรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่เพื่อของบสนับสนุนการพัฒนาสายพันธุ์ทุเรียน สำหรับปัญหาและอุปสรรค ส่วนใหญ่ชาวสวนจะเจอโรคไฟท๊อปโทร่า ซึ่งเกษตรกรจะร่วมกันหาวิธีการทางแก้ไขปัญหา อย่างใช้วิธีการฝังเข็ม การดูแลต่างๆ จนปัจจุบัน มีการส่งเสริม GI และส่งเสริมให้รักษาคุณภาพ มาตรฐาน ป้องกันการสวมทุเรียนสายพันธุ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ส่วนฤดูกาลฝนทิ้งช่วงที่จะมีจนถึงปีหน้า ขณะนี้ได้วางแผนการปรับโอโซน สูบน้ำพ่นอยู่เหนือต้น เพื่อเพิ่มความชื้น นอกจากนี้ยังมีการวางแผนด้านการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การจัดบุฟเฟ่ต์ การส่งออกต่างประเทศ ที่ต้องอาศัยล้ง
ขณะที่นายฉัตรชัยพัฒน์ สาระรัมย์ เปิดเผยว่า จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเฉพาะ อ.โนนสุวรรณ ผลผลิตทุเรียนมี 3 รุ่น คือ ปลาย พ.ค ต้น.มิ.ย., ช่วงเดือน กค. , และช่วง ส.ค. การดูแลทุเรียนจะมีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก ต้องดูแลวันต่อวัน ทั้งการฉีดยา การรดน้ำ ให้ปุ๋ย จึงเป็นที่มาของราคาที่ค่อนข้างสูง ต้นทุนการเลี้ยงดูต่อต้น ประมาณ 20,000 บาท / ปี ผลผลิต 4 แสนบาท/ต้น ระบบน้ำ 200 ลิตร/ต้น ใช่เวลา 4 ปี ออกผลผลิตพร้อมทาน ส่วนกรณีที่ประเทศจีนหรือลาว ที่เป็นตลาดรับซื้อทุเรียนหลักของไทยเริ่มปลูกทุเรียน ที่อาจทำให้ผลผลิตล้นตลาด มองว่า ตลาดทุเรียนไทยยังไม่ตัน เพราะขณะนี้ได้พุ่งเป้าไปยังตลาดอินเดีย ซึ่งยังไม่เคยได้สัมผัสทุเรียนจากประเทศไทย และเร็วๆนี้จะมีการพัฒนาสายพันธุ์ทุเรียนน้ำแร่ ติดกลิ่นมะพร้าวน้ำหอมด้วย
ด้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านทรัพย์สมบูรณ์ อำเภอโนนสุวรรณ กล่าวว่า ทรัพย์สมบูรณ์ นอกจากจะมีทุเรียนน้ำแร่ ที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังมีเห็ดโคนญี่ปุ่น ที่มีความกรอบอร่อย ซึ่งเกษตรกรได้รับการสนับสนุนจาก อบต เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชน เป็นพี่เลี้ยง ในการดูแล และให้ความรู้ต่างๆ ขณะนี้ กำลังพัฒนาบ้านทรัพย์สมบูรณ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว นวัตวิถี รับนักท่องเที่ยว มีกิจกรรมหลายอย่าง ทั้งการอาบน้ำแร่ ทำเห็ดโคนญี่ปุ่น การเก็บดอกเห็ด เลี้ยงปลาน้ำแร่ที่ไม่มีกลิ่นคาว กิจกรรมการประกอบอาหาร ฐานเรียนรู้ชุมชน และกิจกรรมที่จะมีเพิ่มตามฤดูกาล รวมถึง โฮมสเตย์ กว่า 10 หลัง หลังละ 500 บาท นอนได้ 3 คน ส่วนเตนท์ ราคา 100 บาท/หลัง ช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมที่สุดในปีนี้คือ ต้นเดือนสิงหาคม
ขอบคุณภาพข่าว ประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: