พุทธศาสนิกชน และนักท่องเที่ยว จำนวนมากร่วมทำบุญใหญ่ “ตักบาตรบนหลังช้าง” 20 เชือก ที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์อย่างเนืองแน่น
วันที่ 31 ส.ค.66 นายสิงหชัย ผ่องบุรุษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ พุทธศาสนิกชน ตลอดทั้งนักท่องเที่ยว เดินทางไปร่วมทำบุญตักบาตรบนหลังช้าง ประจำปี 2566 ที่บริเวณหน้าทีว่าการอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โดยอำเภอสตึกร่วมกับ ส่วนราชการ ภาคเอกชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตลอดทั้งประชาชนชาวอำเภอสตึก
ข่าวน่าสนใจ:
- บุรีรัมย์ จัดนิทรรศการศิลปะ รักษ์โลก รักเรา จุดพลังเยาวชน ประกวดวาดภาพชิงรางวัล 60,000 บาท (มีคลิป)
- วธ.จัด“ลอยกระทงวิถีไทย ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” น้อง“หมูเด้ง” Thai Cuteness ร่วมสร้างสีสัน
- บุรีรัมย์ มท 2 วางศิลาฤกษ์อาคารเรียนแบบพิเศษพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอน
- บุรีรัมย์ รวบมือฟันแขนพ่อตาขาดเจ้าตัวกับเมียเผยความในใจ ถึงสาเหตุการก่อเหตุ
จัดขึ้นเพื่ออนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามให้คงอยู่ สร้างความรัก ความสามัคคี ส่งเสริมให้ให้เยาวชนและคนในท้องถิ่นเห็นคุณค่าและความสำคัญ มีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ส่วนบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก พระสงฆ์ 20 รูป นั่งบนหลังช้าง 20 เชือก เดินรับบิณฑบาต ถึงแม้จะมีฝนตกโปรยปรายมาเป็นระยะ แต่พุทธศาสนิกชน และนักท่องเที่ยว ต่างนำอาหารแห้งไปรอใส่บาตรเป็นจำนวนมาก
สำหรับประเพณีการตักบาตรบนหลังช้าง ที่อำเภอสตึก เดิมจะจัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายน เป็นประจำทุกปีที่สำนักสงฆ์ป่าหนองพะยอม หมู่ที่ 10 ตำบลท่าม่วง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งจะเป็นช่วงบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคม และเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เริ่มต้นจากการตักบาตรอาหารแห้งแบบธรรมดาปกติทั่วไป ต่อมาพลังศรัทธาชาวบ้านตำบลท่าม่วง ที่เลี้ยงช้างกันอยู่แล้วและมีมากกว่า 100 เชือก ได้นำช้างที่เลี้ยงไว้มาให้พระสงฆ์นั่งบนหลังช้างเดินรับบิณฑบาตโดยไม่ต้องมีการจ้างแต่อย่างใด จากนั้นก็ปฏิบัติต่อๆ เรื่อยมา และมีภาพปรากฎออกสื่อเป็นภาพที่หาชมได้ยาก
จึงมีประชาชนจากนักท่องเที่ยวทั่วสารทิศเดินทางไปร่วมทำบุญตักบาตรบนหลังช้างมากขึ้น เงินที่ได้จากการทำบุญก็จะนำไปสำนักสงฆ์ป่าหนองพะยอม ต่อมาจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว 365 วัน เที่ยวได้ทั้งปี จึงได้ยกระดับการจัดงานเพื่อประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามที่สืบทอดกันมายาวนาน ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: