เกษตรกรอยากให้รัฐบาลชุดใหม่ ส่งเสริมและหาตลาดให้กับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยคั้นน้ำ ซึ่งเป็นอาชีพพื้นถิ่น แต่ขาดการสนับสนุนต้องปลูกเอง ขายเอง ถึงแม้ยอดรายได้จะดี แต่ทำยากโดยเฉพาะผู้สูงอายุ อยากให้รัฐบาลมาสนับสนุนด้านการตลาดและความรู้ด้านการผลิตที่ถูกต้อง
เมื่อวันที่ 4 ก.ย.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุเทพ เอยประโคน อายุ 52 ปี อยู่บ้านเลขที่ 27 ม.7 บ้านพาชี ต.ปังกู อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยสำหรับคั้นน้ำ ได้ออกมาเปิดเผยว่า
ก่อนหน้านี้เคยเป็นผู้รับเหมา แต่พออายุมากขึ้นจึงผันตัวมาทำการเกษตร ด้วยการปลูกอ้อยพันธุ์สำหรับคั้นน้ำขาย ปลูกในที่ดินตัวเอง 1ไร่ ปลูกได้ 600 กอ แต่ได้ปรับเปลี่ยนการปลูกแบบใหม่
ข่าวน่าสนใจ:
- ตำรวจบุรีรัมย์ ยกระดับมาตรการเข้มช่วงปีใหม่ 68 เน้นความปลอดภัยและการจราจรคล่องตัว
- บุรีรัมย์ โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคารจัดโครงการ “ปลูกฝันวรรณศิลป์” ปีที่ 6
- บุรีรัมย์ สภ.ถาวร เริ่มตั้งด่าน “ จับเพราะรัก อยากให้กลับบ้านอย่างปลอดภัย” รณรงค์ความปลอดภัยช่วงปีใหม่
- บุรีรัมย์ เก๋งกลับรถ รถบัสหมอลำเสียงอีสานชนสนั่น แดนเซอร์เจ็บเล็กน้อย
ด้วยการเอาล้อยางรถยนต์เก่า มาตัดแก้มยางออก ให้เหลือเฉพาะวงล้อรถยนต์ จากนั้นขุดดินใส่ในวงล้อรถยนต์ แล้วปลูกอ้อย สาเหตุที่ทำแบบนี้เพราะป้องกันวัชพืช ดูแลง่าย ตัดหญ้าโดยรอบง่ายไม่ต้องกลัวไปโดนต้นอ้อย ที่สำคัญเวลารดน้ำกับใส่ปู๋ย จะไม่กระจายไปที่อื่น
นายสุเทพ เล่าด้วยว่า หลังจากอ้อยโตพร้อมตัด ก็จะเตรียมเครื่องคั้นที่ซื้อมาไว้รอ พ่วงกับรถไถนา ออกไปตระเวนรีดอ้อยขายน้ำอ้อยขวดละ 10 บาท มีรายได้วันละ ประมาณ 500 บาท ปีละประมาณ 180,000 บาท เมื่อหักต้นทุนออกแล้วใน 1 ปีจะมีกำไรจากการขายน้ำอ้อยประมาณ 100,000 บาท
รายได้ดังกล่าวถือเป็นรายได้ดีพอใช้ได้หากเปรียบเทียบกับอายุ เพราะงานไม่หนักเหมือนปลูกพืชชนิดอื่น
สิ่งที่ตนอยากจะฝากไปถึงรัฐบาลชุดใหม่คืออยากให้ส่งเสริมให้เกษตรกรกลุ่มนี้ เช่นสนับสนุนวิทยากรมาให้ความรู้ด้านการผลิต หรือการตลาด หรือหาตลาดให้มั่นคงกว่านี้โดยไม่ต้องออกไปเร่ขาย เพราะอาชีพนี้เป็นอาชีพพื้นบ้านที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ประกอบกับผู้สูงอายุซึ่งมีเพิ่งขึ้นให้รัฐออกมาส่งเสริมให้ทำเป็นอาชีพเสริมในเวลาว่างให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: