หลายหน่วยงานประสานจัดประเพณีผูกเสี่ยวให้กับเยาวชนนักเรียนและผู้ใหญ่ที่อยากมีข้อผูกมัดสัญญาใจว่าจะรักกันตลอดไป จับนักเรียนที่เคยเป็นคู่อริกันมาร่วมผูกเสี่ยว อยากให้ทุกภาคของประเทศรื้อฟื้นประเพณีแบบนี้ของแต่ละพื้นที่มาบูรณาการเชื่อความขัดแยงของสังคมจะลดลงได้
วันที่ 14 พ.ย.67 ที่เทศบาลตำบลลำปลายมาศ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ หน่วยงานราชการทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)บุรีรัมย์ มูลนิธิอาณัตพณ ซารัมย์(ลูกเติ้ง),สาธารณสุขอำเภอ ,ตำรวจ,ปกครอง,และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จาก 6 อำเภอประกอบด้วย อ.ลำปลายมาศ ,หนองหงส์,คูเมือง,พุทไธสง ,บ้านใหม่ไชยพจน์และอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
ข่าวน่าสนใจ:
ได้ร่วมกันจัดประเพณีผูกเสี่ยว ให้กับเพื่อนสนิทที่เคยคบกันมานานและผู้ที่เคยเป็นศัตรูกันมาก่อน โดยเฉพาะเยาวชนนักเรียนนักศึกษาในแต่ละพื้นที่ที่เคยขัดแย้งกันก่อเหตุทะเลาะวิวาทกันเป็นประจำ มาร่วมพิธีผูกเสี่ยวพร้อมดื่มน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีผู้ที่เข้ามาร่วมผูกเสี่ยวตั้งแต่เสี่ยว 2 คนไปจนถึงเสี่ยว 7 คน รวมแล้วกว่า 100 เสี่ยว
บรรยากาศเต็มไปด้วยความสุขระหว่างที่หมอพรหมณ์ ทำการสวดเรียกขวัญผ่านด้ายสายสิญจน์เชื่อมโยงกันเป็นวงกลม หลายคู่เสี่ยวต่างกอดกัน จับมือกันเป็นภาพที่ไม่ค่อยจะพบเห็นมานานทั้งที่หลายคู่เคยมีเรื่องกันมายาวนาน
นายโสภณ ซารัมย์ ประธานที่ปรึกษามูลนิธิ”อาณัตพณ ซารัมย์(ลูกเติ้ง)”กล่าวว่างานผูกเสี่ยวครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้งานของดีเมืองลำปลายมาศ ให้ชาวบ้านนำของดีแต่ละพื้นที่มาโชว์กันภายในงานเพื่อหาแนวทางเชื่อมการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชน
หนึ่งกิจกรรมที่อยากจะรื้อฟื้นขึ้นมาคือประเพณีผูกเสี่ยว ซึ่งเป็นประเพณีตั้งแต่โบราณ แต่ปัจจุบันเริ่มเลือนหายไป โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักไปแล้ว ดังนั้นจึงนำกลับมาใช้ใหม่
จึงประกาศเชิญชวนใครที่ต้องการจะร่วมพิธีผูกเสี่ยวให้แจ้งรายชื่อไปยังผู้นำชุมชนได้คนที่เคยเป็นเพื่อนรักกันมานานแต่ยังไม่มีโอกาสผูกเสี่ยวกันก็สามารถมาร่วมพิธีนี้ได้ มีคนลงชื่อสำหรับผู้ใหญ่มากว่า 50 คู่เสี่ยว บางคนมีเสี่ยวถึง 7 คนที่ลงชื่อมา
สำหรับนักเรียนนักศึกษาได้ประสานไปทางโรงเรียนให้ครูจับนักเรียนที่เคยมีเรื่องทะเลาะกันหรือไม่ลงรอยกันเข้ามาร่วมพิธีด้วย รวมถึงประสานไปยังสถานีตำรวจแต่ละ สภ.ให้จับคู่อริต่างหมู่บ้านมาร่วมพิธีเช่นกัน มีเยาวชนมาร่วมพิธีมากกว่า 60 คู่เสี่ยวหรือมากกว่า 150 คน เพราะบางคนมีเพื่อน 4-5 คน
นายโสภณ กล่าวด้วยว่าประเพณีในลักษณะนี้จะมีอยู่ทั่วประเทศขึ้นอยู่ว่าภาคไหนจะเรียกว่าอย่างไร แต่สำหรับภาคอีสานเรียกว่าการผูกเสี่ยว หากนำมาปรับใช้ให้กับยุคสมัยใหม่แล้วสร้างความสำคัญ ส่วนตัวเชื่อว่าจะทำให้สังคนส่วนหนึ่งที่เคยมีปัญหากันดีขึ้นอย่างแน่นอน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: