X

สถานพินิจฯ ร้อยเอ็ด ประชุมกรรมการสงเคราะห์เด็ก-เยาวชน 

สถานพินิจฯร้อยเอ็ด ประชุมให้ความรู้ แก่กรรมการสงเคราะห์และสนับสนุนการดำเนินกิจการ กรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชน 

สถานพินิจร้อยเอ็ด

นายสุรเกียรติ กุลดำรงค์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธาน เปิดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้แก่กรรมการสงเคราะห์ เกี่ยวกับกระบวนงานยุติธรรมสำหรับเด็ก และเยาวชนและร่วมจัดทำแนวทางการสงเคราะห์เด็ก และเยาวชน สำหรับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุมโรงแรม The Hi Place ร้อยเอ็ด  โดยมีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดร้อยเอ็ด ประธานผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 4 ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ผู้มีเกียรติ และ กรรมการสงเคราะห์ ร่วมประชุม

หลังเปิดงาน ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัว ได้มอบเข็มให้แก่คณะกรรมการสงเคราะห์ พร้อมกล่าวให้โอวาท ว่า กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ตระหนักถึงความสำคัญของชุมชนในการมีส่วนร่วมในการแก้ไข บำบัดฟื้นฟู และพัฒนาพฤตินิสัยเด็กและเยาวชน ที่กระทำผิดกฎหมาย และกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชน สำหรับสถานพินิจและช่วยเหลือกิจการสถานพินิจ เพื่อสวัสดิภาพและอนาคตของเด็ก และเยาวชน ประกอบกับกระทรวงยุติธรรม และกรมพินิจมีนโยบายให้ใช้ยุติธรรมทางเลือก แทนกระบวนการควบคุมตัวเด็ก และเยาวชน ที่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว จำเป็นต้องระดมสรรพกำลัง และทรัพยากรสามารถให้ความคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้ตามรัฐธรรมนูญ และตามมาตรฐานของสหประชาชาติ การคุ้มครองดังกล่าวคือ การควบคุมตัวเด็กและเยาวชนจะทำได้เท่าที่จำเป็น เพื่อการวิเคราะห์และบำบัดแก้ไข เด็กและเยาวชนได้กลับคืนสู่ครอบครัวและชุมชน รับผิดชอบต่อการกระทำผิด และไม่กระทำผิดซ้ำอีก เด็กและเยาวชนได้รับการบริการของรัฐตามสิทธิที่กฎหมายรับรอง   ความสำเร็จของการจัดให้มีการคุ้มครองและบริการดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากผู้อำนวยการสถานพินิจไม่มีคณะกรรมการสงเคราะห์ที่เป็นคนในท้องถิ่น ที่มีความเมตตา และเสียสละที่จะทำงานร่วมกับบุคลากรของรัฐอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง โดยคนทั่วไปส่วนใหญ่ในสังคม มักจะมีความหวาดระแวง หรือไม่เชื่อว่าเด็กหรือเยาวชนที่กระทำผิดสามารถแก้ไขได้โดยไม่มีการควบคุมตัว การอบรมครั้งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการรับรู้ปัญหาและการร่วมกันคิดออกแบบการให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดของจังหวัดร้อยเอ็ด

นายสุรัชพิสิษฐ์  ใจแสน ผู้อำนวยการ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดร้อยเอ็ดกล่าวว่า สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม มีภารกิจหลักในการอำนวยความยุติธรรม พิทักษ์ผู้เยาว์ แก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็ก และเยาวชนให้กลับตนเป็นคนดี สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ด้วยพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ได้กำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจแต่งตั้ง คณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชน สำหรับสถานพินิจเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้อำนวยการสถานพินิจและช่วยเหลือกิจการของสถานพินิจสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดร้อยเอ็ด

จึงดำเนินการสรรหาคณะกรรมการสงเคราะห์ขึ้นตามขั้นตอนและระเบียบที่กำหนด บัดนี้กระทรวงยุติธรรมได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสงเคราะห์ จำนวน 22 คน  ได้แก่

นางสาวเบญจมาศศรี แสนบัว                                       นางศิริลักษณ์ มะลาลัย
นางสาวอินแปง ศรีทะวงษ์
นางสุนี ปรีพุทธรัตน์
นางดาวรุ่ง ผ่องศาลา
นายชูชาติ ไทยกล้า
ว่าที่ ร.ต.พงษ์พิทักษ์ กล่อมใจ
นางจินตนา ชื่นวัฒนา
นางสาวจิราวรรณ สิทธิศักดิ์
นางพรรณี พันธะพุมมี                                                   นางจิรัชยา ทองเกษม
นางสาวกัญญาภัทร แสงอาทิตย์
นางสาวกาญจนา สุภานนท์
นางชนาทิป จีนภักดี
นายณรงค์กร วงศกรฉัตร วงศ์เวียน
นางเบญจวรรณ ผลินยศ
นางบัด เอกวงษา
นางสาวประกายศรี รุ่งเรืองอริโย
นางพิณทิพย์ ชัยคณารักษ์กูล
นางมนัสนันท์ บุญศรัทธา
นางสาววนิดา สาระชร
นางสาวอภิสมัย โพธิสาย

ดังนั้นเพื่อให้ดำเนินงานเพื่อให้การดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสงเคราะห์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถูกต้อง และเหมาะสม จึงได้จัดให้มีการประชุมในครั้งนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กรรมการสงเคราะห์รายใหม่(ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งในวาระต่อเนื่อง)เกิดความรู้ตามหลักสูตรการอบรมกรรมการสงเคราะห์เด็ก และเยาวชนสำหรับสถานพินิจที่คณะกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับกรรมการสงเคราะห์ สำหรับสถานพินิจกำหนด ประกอบด้วยความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม สำหรับเด็กและเยาวชน การดำเนินงานสถานพินิจ ฯ และศูนย์ฝึกและอบรมฯ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก รวมถึงบทบาทหน้าที่และสิทธิประโยชน์ของกรรมการสงเคราะห์ ให้มีแผนปฏิบัติการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกรรมการสงเคราะห์และสถานพินิจ


โอกาสนี้นายภูชิต เสริมศักดิ์ ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดร้อยเอ็ดบรรยายพิเศษในหัวข้อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ. ศ. 2553 นายยงยุทธ ธรรมนิตยางกูร ยุติธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด บรรยายหัวข้อ ความสำคัญของเครือข่ายในกระบวนการยุติธรรม นางสาวสุทิศา ศาสตร์เณร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 4 บรรยายหัวข้อ ยุทธศาสตร์และนโยบายของกรมพินิจ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม สำหรับเด็กและเยาวชน การดำเนินงานสถานพินิจฯและศูนย์ฝึกและอบรมฯ นายผดุงศักดิ์ จุลพันธ์พนักงานคุมประพฤติชำนาญการพิเศษ บรรยายในหัวข้อ วิวัฒนาการของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน การปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ เด็กและอื่นๆ

นอกจากนี้ในการประชุมคณะกรรมการสงเคราะห์ครั้งที่ 1/2565 ได้มีการคัดเลือกประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ บริหาร คณะกรรมการสงเคราะห์ การจัดทำแผนดำเนินงานของคณะกรรมการสงเคราะห์ซึ่งผลการคัดเลือก นางสาวเบญจมาศศรี แสนบัว เป็นประธานกรรมการ  นางศิริลักษณ์ มะลาลัย เป็นรองประธานคนที่ 1 นายชูชาติ ไทยกล้า  เป็นรองประธานคนที่ 2 (ดำรงตำแหน่งในวาระ 3 ปี )

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน