X

ร้อยเอ็ดจัดงานมหกรรมอาหาร ร้อยแก่นสารสินธุ์

ร้อยเอ็ดจัดงานมหกรรมอาหาร ร้อยแก่นสารสินธุ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวและต้อนรับการแข่งขันกีฬา อปท.แห่งประเทศไทย

นายชัยวัฒน์ ชัยเวชพิสิฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ประธานเปิด งานมหกรรมอาหาร ร้อยแก่นสารสินธุ์ (ROI-KAEN-SARA-SIN GASTRONOMY FESTIVAL) ซึ่งเป็นส่งเสริมการท่องเที่ยวอัตลักษณ์ และยกระดับการท่องเที่ยวเชิงคุณค่ากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ร้อยแก่นสารสินธุ์ ซึ่งจัดขึ้นที่ลานหอโหวด 101 (ROI ET TOWER) จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนางปราณี วงศ์บุตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นายธวัชชัย รอดงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นายนพดล จอมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดนายเสกสรร ศรีไพวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานขอนแก่น หัวหน้าส่วนราชการ ผู้มีเกียรติและประชาชนร่วมงานคับคั่ง

นางภควัลรัตน์ มณีสร้อย ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทยที่รัฐบาลให้ควานสำคัญโดยรัฐบาลได้กำหนดนโยบาย IGNITE TOURSM THALAND เพื่อผลักลันประเพศไทย มุ่งสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางเมืองท่องที่ยวที่สำคัญของโลก ขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์เมืองหลักและเมืองรองน่าเที่ยวทั้ง 55 จังหวัด โดยเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวจากเมืองหลักสู่เมืองใกล้เคียงเพื่อให้เกิดการกระจายนักท่องที่ยวไปสู่ภูมิภาคต่างๆ และมีการจายรายได้ประกอบกับ การผลักดันนโยบาย Soft Power ของรัฐบาล ในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารไทยเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบสินค้าเกษตรทำให้เกิดการจ้างงาน ทั้งในภาคการเกษตร และอุตสาหกรรม ร้านค้าปลีก ฟู้ดเซอร์วิส ร้านอาหาร และเครื่องดื่ม ผู้ประกอบการรายย่อย ร้านอาหารริมทาง หรือสตรีทฟู้ดโดยในปี 2566 อุตสาหกรรมอาหารของไทยมีมูลค่ารวม 4 ล้านล้านบาท

อุตสาหกรรมอาหารไทยเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาหารมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการสนับสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จะเห็นได้จากสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านอาหารและครื่องดื่มของนักท่องที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในขณะที่สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านที่พักและซื้อของฝาก สินค้าที่ระลึกมีแนวโน้มลดลง

การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Foods Tourism หรือ Gastronomy Touism) ได้กลายมาเป็นเทรนค์การท่องเที่ยวใหม่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวและเรียนรู้ เนื่องจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวยุคใหม่ต้องการเรียนรู้วัฒนธรรมอาหาร เติมเต็มประสบการณ์ และสัมผัสกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลาย ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับอาหารของแต่ละท้องถิ่น เนื่องจากอาหารนั้นเป็นอัตลักษณ์สำคัญในการบ่งบอกตัวตนทางวัฒนธธรรมของแต่ละพื้นที่

ในปัจจุบันอาหารอีสานได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ด้วยรสชาติที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และภาพลักษณ์ที่ทันสมัยมากขึ้น โดยการนำภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นและวัตถุดิบในพื้นที่มาต่อยอด ยกระดับให้มีความเป็นสากล เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการรับประทานอาหารให้แก่นักท่องเที่ยวภาคอีสาน ถือได้ว่ามีความหลากหลายของอาหาร และเป็นแหล่งปศุสัตว์ที่สำคัญของไทย เรามีปลาน้ำจืดหลากหลายชนิด กุ้งแม่น้ำจากจังหวัดกาฬสินธุ์ เนื้อวากิวน้ำพอง ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ตลอดจนพืชผักสมุนไพรอีสาน ที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งมีร้านอาหารหลากหลายประเภทให้นักท่องเที่ยวได้เลือกชิม เช่น “ร้านตำกระเทย” ร้านส้มตำจากจังหวัดร้อยเอ็ดที่มีสาขาในหลายจังหวัดทั่วประเทศ “ร้านแก่น (KAEN)” ร้านอาหาร Fine Dining จากจังหวัดขอนแก่น ที่นำเสนออาหารอีสานด้วยมุมมองใหม่ โดยชูวัตถุดิบคุณภาพดีจากท้องถิ่นมาปรุงโดยใส่ความเป็นสากลลงไป

กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์มีของดีอยู่มากมาย ทั้งที่เกิดจากภูมิปัญญาตั้งเดิม และที่เกิดจากการพัฒนาต่อยอดของคนรุ่นใหม่ เรามีสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีความโดดเด่น ตลอดจนเสน่ห์ของวิถีชุมชนที่มีเอกลักษณ์ โดยสามารถรองรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม ซึ่งในงานมหกรรมอาหาร ร้อยแก่นสารสินธุ์ นี้ ได้รวบรวมอาหารหลากหลายชนิดที่เป็นอกลักษณ์ และสะท้อนถึงถึงวัฒนธรรมทั้ง 4 จังทวัด
จากที่กล่าวมาข้างต้น  สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยจากนักท่องเที่ยว เพื่อต่อยอดสู่การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronorry Food) พร้อมทั้งเล็งเห็นถึงโอกาสในขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดงานมหกรรมอาหาร ร้อยแก่นสารสินธ์ขึ้น เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การสร้าง Soft Power ด้านอาหารพื้นถิ่น (Local Food)ของกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้น จุดประกาย เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการด้านอาหารให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในการต่อยอด พัฒนา ยกระดับอาหารพื้นถิ่นให้มีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น (From Local to Gbal)  เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวสู่ชุมชนและผู้ประกอบการด้านอาหาร ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด นอกจากนี้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ยังเป็นการรองรับคณะผู้บริหาร ผู้ฝึกสอน และนักกีฬา สังกัด อปท.จากทั่วประเทศ ที่เดินทางมาร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย “หอโหวด 101 เกมส์” ครั้งที่ 38  รอบชิงชนะเลิศ ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 -24 สิงหาคม 2567 ด้วย

 

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน