X

มินิธัญญารักษ์ร้อยเอ็ด ภารกิจบำบัดผู้กล้าเป็นคนดีกลับคืนสู่สังคม

มินิธัญญารักษ์ร้อยเอ็ด ภารกิจบำบัดผู้กล้าเป็นคนดีกลับคืนสู่สังคม

นายประกาศ เจริญราษฎร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธวัชบุรี   สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า มินิธัญญารักษ์ จัดตั้งขึ้น ณ โรงเรียนบ้านหนองบัวดอนไผ่ ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด มาเพื่อดูแลพี่น้องประชาชนที่หลงผิดไปใช้สารเสพติด โดยเฉพาะกลุ่ม แอมเฟตามีน แล้วดำเนินการรักษาโดยระบบที่เรียกว่าชุมชนเป็นฐาน หรือ CBTx และไม่สามารถเลิกยาได้ จำเป็นจะต้องเข้ามาทำการรักษา ที่มินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลอำเภอธวัชบุรีแห่งนี้  มีแพทย์จิตเวชชุมชน1 คน แพทย์ทั่วไป2 คนพยาบาลวิชาชีพจิตเวช3 คน พยาบาลวิชาชีพ 8 คนนักจิตวิทยา1 คนเจ้าหน้าที่ทหาร 16 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจ 6 คน วิทยากรพิเศษ 4 คน

ตามแผนปฏิบัติการเร่งรัดการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามปัญหายาเสพติดระยะเร่งด่วน พื้นที่ต้นแบบอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ดระหว่างวันที่ 5 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2567 จากการคัดกรองพบผู้ใช้และผู้เสพที่ต้องเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (CBTX)จำนวน 1,749 คน หลังจากเข้ารับการบำบัด 3 ครั้ง ยังไม่สามารถหยุดการเสพได้จำนวน 295 คน จึงได้จัดสร้าง “มินิธัญญารักษ์”โรงพยาบาลธวัชบุรี เพื่อบำบัดผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป ซึ่งมีขนาด 200 เตียง ศูนน์นี้ในจังหวัดร้อนเอ็ดมีอยู่ 4 แห่ง คือ 1 อำเภอปทุมรัตต์ 2.อำเภอสุวรรณภูมิ 3 อำเภอพนมไพร 4. อำเภอธวัชซึ่งเป็นศูนย์ใหญ่สุด

เราดูแลเหมือนกับเข้าค่ายธรรมดา มีเรือนนอน ซึ่งสามารถนอนได้ห้องละ 20 – 25 คน มีที่นอนเครื่องนอนให้อย่างดี สิ่งของเครื่องใช้เสื้อผ้าแจกให้หมด มีอาหาร 3 มื้อ มีอาหารว่าง มีอะไรต่างๆ นานาครบครัน  ส่วนที่เห็นว่ามีรั้วรอบขอบชิดนั้นเป็นเพียงสัญลักษณ์ ประตูเราไม่เคยปิด ถ้าใครไม่สมัครใจรักษาสามารถเดินออกมาได้เลย ให้บอกเจ้าหน้าที่ แต่ไม่ให้ปีนข้าม เราไม่กลัวการหลบหนีครับ เพราะว่าทุกคนสมัครใจมา ถ้าไม่สมัครใจเข้ามาที่นี่ ก็คือต้องเดินสู่เส้นทางการดำเนินคดี ก็ต้องเลือกเอาครับ ที่นี่มีรั้วรอบขอบชิต มีกล้องวงจรปิดกว่า40 ตัวสามารถที่มองเห็นความเคลื่อนไหวต่างๆ มีระบบรักษาความปลอดภัย มีครูทหารอยู่ด้วย 24 ชั่วโมง ข้างนอก มีตำรวจสายตรวจ ประจำการอยู่ผลัดละ 2 นาย แล้วก็มีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมอมิเตอร์ตลอด 24 ชั่วโมงเต็บป่วนไม่สยายเรียกได้ทันที

หน้าที่ของพวกเราคือพยายามที่จะให้ผู้บำบัดเลิกใช้สารเสพติดอย่างเด็ดขาด พร้อมมีการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ผู้รับการบำบัดเลิกยาเสพติดได้อย่างถาวร มีกิจกรรมการฝึกอาชีพ รวมทั้งมีความพร้อมที่จะกลับคืนไปใช้ชีวิตในชุมชน เราได้ดำเนินการมาเกือบ 2 เดือน ทำการบำบัดรักษาผ่านไปแล้ว 2 รุ่น ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 3 รวมผู้เข้ามารับการบำบัดรักษาประมาณ 300 ราย ที่ผ่านมาพบว่ามีสถิติแต่ละรุ่นไม่เหมือนกันเพราะจำนวนของผู้เข้าบำบัดในแต่ละรุ่นไม่เท่ากัน ซึ่งล่าสุด จากสถิติรุ่นที่ 2 ที่มีการบำบัดรักษาไป 46 ราย พบว่ากลับมาเสพซ้ำเพียง 2 รายเท่านั้น

ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเรารับผู้สมัครใจบำบัดมาจากชุมชน เราก็จะมีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรม ได้แก่ พยาบาลจิตเวช แพทย์จิตเวชชุมชน ครูทหาร ครูตำรวจ และอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมเรื่องยาเสพติด เข้ามาช่วยกันซักประวัติผู้ป่วยแต่ละราย อีกทั้งเพื่อค้นหาปัญหาที่แท้จริงของเขา เมื่อทำความเข้าใจและพบปัญหาแล้วก็จะรับผู้ป่วยเข้าไปในกระบวนการมินิธัญญารักษ์ ซึ่งในกระบวนการปฏิบัติมีอยู่ 3 ระยะคือ
ระยะที่ 1 เป็นระยะถอนพิษ ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์
ระยะที่ 2 เป็นระยะฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจเพื่อให้คนไข้รู้จักตัวเอง รู้จักสังคมและมองเห็นอนาคตของตนเองปนะมาณ 2 สัปดาห์
ระยะที่ 3 คือระยะเตรียมคนไข้ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้พร้อมที่จะกลับไปใช้ชีวิตในสังคมอย่างปกติต่อไป

“ทั้งนี้เรามีความคาดหวังของเราคือ เราต้องการให้ ผู้เข้ามาบำบัดที่นี่สามารถที่จะเลิกหยาได้ แล้วก็ฟื้นฟูสภาพร่างกายตัวเอง ให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด พร้อมกับมีกำลังใจที่ดีในการที่กลับไปใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่ต้องอาศัยและพึ่งพายาเสพติด พร้อมกันนั้นเราก็ประสานกับชุดปฏิบัติการในชุมชน เพื่อเตรียมชุมชนให้พร้อมกรณีที่พวกเขากลับออกไป ซึ่งตอนนี้การดำเนินการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน