เพื่อไทย ประชุมสัญจร สส.กลุ่มทุ่งกุลา เร่งแก้ปัญหาภัยแล้ง
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย พร้อมแกนนำพรรค ได้เปิดประชุม สส.สัญจร ภาคอีสาน ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงาน ศักดา คงเพชร สส.ร้อยเอ็ด เขต7 (พรรคเพื่อไทย ) โดยมี สส.พรรคเพื่อไทย จ.ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ และขอนแก่น เข้าร่วมนำเสนอความคิดเห็น รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง เพื่อหาแนวทางแก้ไข เสนอโครงการ โขง เลย ชี มูล กลับมาขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม
ข่าวน่าสนใจ:
นายศักดา คงเพชร สส.ร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า จากภาวะฝนทิ้งช่วงในห้วงที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนในภาคอีสานเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุ่งกุลาร้องให้ แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงของโลก พื้นที่กว่า 2 ล้านไร่ ครอบคลุม 5 จังหวัด ไม่มีแหล่งน้ำต้นทุน เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย จึงได้จัดประชุมสัญจร ครั้งที่ 1 สำหรับ สส.อีสาน กลุ่มทุ่งกุลาร้องให้ขึ้น เพื่อรับทราบปัญหา และความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ซึ่งพบว่าตอนนี้เดือดร้อนมาก เพราะน้ำไม่พอเพียงต่อการอุปโภค – บริโภค จากนั้นคณะได้ลงพื้นที่ สำรวจสถานการณ์ภัยแล้ง ที่ลำเสียวใหญ่ บ้านเมืองบัว ต.เมืองบัว อ.เกษตรวิสัย ซึ่งอยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ (พรรคเพื่อไทย) กล่าวว่าคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ได้ลงพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ให้ประชาชนคิด เพื่อไทยทำ ด้วย Project เพื่อไทยสร้าง เปลี่ยนทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นทุ่งกุลามั่งมี โดยการประกาศพื้นที่ เป็นทุ่งกุลาเขตพัฒนาพิเศษ ทุ่งกุลา Special area หรือ ( TSA) เพื่อพัฒนาพื้นที่ ที่มีศักยภาพสูงแห่งนี้ และเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลก ให้เป็นพื้นที่ ที่พลิกฟื้นชีวิตเกษตรกร สร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจที่ดีให้ประเทศ โดยดำเนินการ เติมน้ำให้พอเพียงต่อการผลิตอย่างยั่งยืน รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ มีเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่ชลประทาน ในภาคอีสาน จาก 12 % เป็น 75 % ของพื้นที่การเกษตร 57.75 ล้านไร่ ประกอบด้วย โครงการโขง เลย ชี มูล ซึ่งจะทำให้เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 30 ล้านไร่ โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 แหล่งน้ำ โดยจัดงบประมาณผ่านตรงไปยังประชาชน ให้จัดทำแหล่งน้ำประจำหมู่บ้านของตนเอง เพื่อใช้ในการอุปโภค-บริโภค และเพื่อการเกษตร โครงการกักเก็บน้ำใต้ดิน หรือธนาคารน้ำใต้ดิน ทำฝายกักเก็บน้ำในลำน้ำชี ลำน้ำมูล ลำน้ำยัง ลำน้ำเสียว และลำน้ำอื่นๆ เป็นช่วงๆ ตลอดลำน้ำ รวมทั้งทำแก้มลิงเพิ่มเติม และเขื่อนขนาดเล็ก โดยระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้า
การเพิ่มมูลค่าของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา การยกระดับคุณภาพ การผลิตข้าวหอมมะลิ ออแกนิค ให้รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน ยกระดับราคาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาให้สูงขึ้นอย่างยั่งยืน ทำ Thailand แบรนด์ ของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาโดยรัฐ เพื่อรับรองคุณภาพแหล่งผลิต (GI )รวมทั้งการทำแพ็คกิ้ง การทำการตลาด ตลอดจนการทำโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ยกระดับศักยภาพของเกษตรกรทุ่งกุลาให้มีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เป็นประโยชน์ ในการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ตั้งแต่กระบวนการปลูก การแปรรูป ไปจนถึงการตลาดเชื่อมทุ่งกุลา กับตลาดโลก ยกระดับรายได้ของเกษตรกรภาคอีสาน รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ของเกษตรกรภาคอีสาน พลิกแผ่นดินที่แห้งแล้ง ให้เป็นแหล่งสร้างรายได้แก่ประชาชน และประเทศชาติต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: