ร้อยเอกมนัส – มนัญญา รมช.เกษตรฯ ลงพื้นที่ช่วยชาวบ้านที่ถูกทรายจากน้ำท่วมทับถมที่นา
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า และนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประชาชนและให้การช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่นาถูกทรายทับถม จากอุทกภัย ณ บริเวณพนังกั้นน้ำ ลำน้ำยังที่ขาด จุดบ้านท่าทางเกวียน หมู่ที่ 4 บ้านท่าโพธิ์ หมู่ที่ 6 และบ้านท่าเยี่ยม หมู่ที่ 5 ตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีแม่ทัพภาคที่ 2 หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่นร่วมต้อนรับ
พร้อมรับฟังรายงานสถานการณ์จากนายวันชัย คงเกษม ผวจ.ร้อยเอ็ด ก่อนเปิดบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำเครื่องจักร ขุดอกทรายออกจากที่นา ให้แก่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ จากอุทกภัย พนังกั้นน้ำ ลำน้ำยังขาด ทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ใน 2 ตำบล มีพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ได้รับความเดือดร้อนนอกจากนาข้าวจะถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายเกือบ 100% แล้ว หลังน้ำลดยังมีทรายจำนวนมหาศาลเข้าถมทับถมที่นา ความลึก ตั้งแต่ 50 ซม. ถึง 1.50 เมตร จนชาวบ้านไม่สามารถทำนาได้อีก หากไม่นำทรายเหล่านี้ออก
ซึ่งที่นาในตำบลวังหลวง ถูกทรายทับถม 500 กว่าไร่ ตำบลนาแซง 200ไร่ ทรายประมาณ 19 แสนกว่าคิว ซึ่งถือเป็นงานหนักเพราะต้องขนทรายออกให้เร็วที่สุด หลังจากนั้นกรมพัฒนาที่ดิน ก็จะเข้ามาปรับคุณภาพของดิน ให้พร้อมที่จะลงข้าวหรือพืชทดแทนที่สามารถทดแทนได้ในระยะสั้นทดแทนความเสียหายของไร่นาของพี่น้องเกษตรกรได้มีทางเลือก เรามีการปฏิบัติการบูรณาการระหว่างกองทัพ กับกระทรวงต่างๆอยู่แล้ว
แต่ถ้าพี่น้องเกษตรกรคิดว่าบางแปลงสามารถทำของเขาเองได้ เชี่ยวชาญกับพื้นที่เขาก็จะสามารถที่จะปฏิบัติได้เหมือนกัน ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดก็จะดูกำกับดูแลอีกทีหนึ่ง และทางกระทรวงได้ทำเรื่องของบประมาณเข้า ครม.ในวันอังคารนี้ ในการจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อมาแจกจ่ายให้พี่น้องเกษตรกร และเท่าที่เรามีในสต๊อกประมาณ 1 หมื่นตัน มันไม่เพียงพอเราจึงต้องทำการจัดซื้อ ดังนั้นวันอังคารทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรได้นำแผนตรงนี้ เพื่อของบประมาณในการจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ทำการจัดหาเพื่อให้เพียงพอต่อพี่น้องเกษตรกร และในเรื่องของหนี้สิน อาจจะต้องขออนุมัติหลักการจาก ครม.ในการพักชำระหนี้ หรือในเรื่องของการพักดอกและต้น สิ่งที่สำคัญที่สุด นายกรัฐมนตรีได้กำชับชัดเจนว่าจะต้องไม่ให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อนเป็นเด็ดขาด ภาครัฐจะต้องเข้ามาปฏิบัติการและเยียวยาอย่างเอาจริงเอาจัง ดูแลในเรื่องของการเยียวยาเบื้องต้น
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาครมอนุมัติหลักเกณฑ์งบประมาณในการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั้งหมด 7 พันกว่าล้าน จะแบ่งครอบครัวละ 5,000 บาท ซึ่งตรงนี้เนี่ยมันอยู่ที่ขั้นตอนที่กระทรวงมหาดไทยจะดำเนินการผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ละจังหวัด และในส่วนของหนี้สินครัวเรือนทางภาครัฐกำลังทำการศึกษานโยบายว่า เราจะพักการชำระทั้งต้นและดอกหรือจะมีวิธีการปฏิบัติการยังไง
ส
สำหรับพื้นที่ทางการเกษตรที่มีทรายทับถมความสูงประมาณ 1 เมตร มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ จำนวน 68 ราย พื้นที่ประมาณ 530 ไร่ ซึ่งหน่วยงานราชการได้เข้าให้ความช่วยเหลือ ตามระเบียบเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 จำนวน 356 ไร่ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัย รายละไม่เกิน 5 ไร่ ๆ ละ 7,000 บาท สำหรับพื้นที่ที่ไม่สามารถ ให้ความช่วยเหลือได้ จำนวน 174 ไร่ ทางจังหวัดร้อยเอ็ดได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้ความช่วยเหลือ อาทิ กองพันทหารช่างที่ 3 กองพันทหารช่างที่ 6 กองพันทหารช่างที่ 101 กองพันทหารช่างที่ 102 องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 6 แขวงการทางร้อยเอ็ด โครงการชลประทานร้อยเอ็ด ได้นำเครื่องจักรกล เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยในพื้นที่ อย่างเร่งด่วน
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ เดินทางไปยังศาลาประชาคมบ้านท่าเยี่ยม หมู่ที่ 5 เพื่อประชุมชี้แจงมาตรการในการให้ความช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรผู้ประสบภัย ซึ่งเสนอให้มีการทำประชาคมเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน ในการที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาทรายที่ทบทับถมพื้นที่ทางการเกษตรด้วยตนเอง
โดยให้รัฐจ่ายเงินตามระเบียบของทางราชการ หรือให้หน่วยงานรัฐช่วยเหลือนำออกจากพื้นที่ รวมทั้งได้สั่งการให้หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุน เมล็ดพันธุ์พืช บูรณาการในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชน และประชาชนต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน และกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มีมาตรการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ในพื้นที่ประสบอุทกภัย 21 จังหวัด โดยจัดสรรเงินจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ให้สหกรณ์กู้ยืมได้ สหกรณ์ละไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยสหกรณ์สามารถนำไปให้สมาชิกกู้ต่อรายละไม่เกิน 20,000 บาท ปลอดดอกเบี้ยระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ให้นำไปช่วยฟื้นฟูอาชีพให้กับสมาชิก ลงทุนปลูกพืชระยะสั้น เพื่อสร้างรายได้ในเวลาอันรวดเร็ว รวมทั้งกรมฯ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านและเกษตรกรทั้ง 21 จังหวัด จนกว่าจะสามารถผ่านพ้นจากสภาวะที่วิกฤตนี้ไปได้และกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: